เปิดประวัติ ทนายตั้ม ษิทรา ทนายหนุ่มรูปหล่อไฟแรง
เปิดประวัติ ทำความรู้จัก “ทนายตั้ม ษิทรา” ทนายหนุ่มชื่อดัง ฝีปากกล้า ผู้จับคดีดังมาแล้วมากมาย คร่ำหวอดในวงการมากว่า 20 ปี
ประวัติส่วนตัว ทนายตั้ม
-ชื่อ: ษิทรา เบี้ยบังเกิด
-ชื่อเล่น: ตั้ม
-อายุ 42 ปี
-ภูมิลำเนาเป็นคน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
-ครอบครัวทำอาชีพค้าขาย
ประวัติการศึกษา ทนายตั้ม
-ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น : โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ -ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย : โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
-ระดับปริญญาตรี : รัฐศาสตรบัณฑิต และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
-ระดับปริญญาโท : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต รุ่นที่ 19 มหาวิทยาลัยเกริก

ทนายตั้ม เข้าสู่วงการ ทนายความ
ทนายตั้ม เริ่มเข้าสู่วงการอาชีพทนายในปี 2547 และเคยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาช่วยเหลือทางกฎหมาย ตามชุมชนและงานบุญต่างๆ รวมไปถึงจัดกิจกรรม พี่สอนน้องให้เป็นคนดีของสังคม ไปตามโรงเรียนต่างๆ เน้นสอนเรื่องใกล้ตัว ในปี 2559 ทนายตั้ม และทีม ได้ก่อตั้ง มูลนิธิทีมงานทนายประชาชนเพื่อเยาวชนและสังคมเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนรู้กฎหมาย มีความซื่อสัตย์สุจริต ได้ร่วมกับภาครัฐ ทั้งกระทรวงยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

คดีสร้างชื่อ “ทนายตั้ม” ทนายตั้ม
ทำคดีดังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น คดีน้องภัทร สาวโรงงานที่ตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน ถูกรถสิบล้อชนแล้วหนีจนพิการ, คดีน้องจีโน่ ที่ถูกวัยรุ่นใช้น้ำมันราดแล้วจุดไฟเผาก่อนหลบหนี จนถึงแก่ความตาย, คดีสองสามีภรรยาที่ระบุว่าถูกตำรวจยัดยาเสพติดก่อนชิงทองและเงินสด, คดีหวย 30 ล้าน โดยช่วยเหลือ ร.ต.ท.จรูญ และครูปรีชา รวมไปถึง คดีน้องชมพู่ และลุงพล และนอกจากนั้น ทนายตั้มยังได้ ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ สืบสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริงของ “แตงโม นิดา” แต่สุดท้ายก็โดนออกจากคดี ปัจจุบันทนายตั้มเป็นทนายมาแล้ว 20 ปี เป็นเลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ และได้ใช้ชีวิตรักกับเดือน – นางปทิตตา เบี้ยบังเกิด ซึ่งทั้งคู่ครองรักกันมาเกือบ 30 ปีแล้ว
แหล่งที่มา: https://www.siamnews.com/view-122010.html?fbclid=IwY2xjawGZbV1leHRuA2FlbQIxMAABHeoGbT83R6Tleq0bbTNE-SvJGZAuvHKEO1AeELIFGQozDqi5rvUIC8HfVQ_aem__BSAe69tU3SR1BqOAckd6g
TOP 10 อสังหาฯ ไทย ทำกำไรสูงสุด แสนสิริ โกยมากสุด ขณะ 14 บริษัท ขาดทุน สต๊อกรวมท่วม 6.3 แสนล้าน
- อันดับ 1 : แสนสิริ 3,110 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น)
- อันดับ 2 : เอพี 3,022 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 3 : ศุภาลัย 2,824 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 4 : แลนด์แอนด์เฮ้าส์ 2,806 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 5 : ออริจิ้น 1,915 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 6 : พฤกษา 1,730 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น)
- อันดับ 7 : คิวเฮ้าส์ 1,261 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น)
- อันดับ 8 : เอสซี แอสเสท 1,134 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น)
- อันดับ 9 : เฟรเซอร์ส 714 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 10 : แอสเซทไวส์ 531 ล้านบาท (ลดลง)

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องจับตาดู คือ จำนวนสต๊อกที่อยู่อาศัยคงเหลือ และหน่วยที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกเป็นจำนวนมาก โดยนับรวมจากทั้ง 38 บริษัท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 อยู่ที่ 638,860 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.96% จาก 626,535.06 ล้านบาท จากสิ้นไตรมาสแรกที่ผ่านมา สต๊อกมากสุด นำโดย บมจ.แสนสิริ, ศุภาลัย, เอพี, แลนด์แอนด์เฮ้าส์, เอสซีฯ และพฤกษา เป็นต้น