แอปทางรัฐ ขั้นตอนที่ 3-4-5 แปลว่าอะไร เงินดิจิทัลเฟส 2 คนทั่วไปได้กี่เท่าไหร่ ตอนไหน
ความคืบหน้าล่าสุดการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 สำหรับประชาชนทั่วไปที่เคยลงทะเบียนในเฟสที่ 2 หรือผู้มีสมาร์ทโฟน เมื่อวันที่ 15 กันยายน ที่ผ่านมา ผ่านแอปพลิเคชั่น ทางรัฐ เมื่อเข้าสู่ตัวเลือกตรวจสอบสิทธิ หน้าจอจะค้างอยู่ที่ขั้นตอนที่ 3 ทำให้หลายคนสงสัยว่าสถานะจะอัปเดตเมื่อไหร่
ขั้นตอนที่ 3 คือ ระบบอยู่ระหว่างการตรวจสอบสิทธิ
ระบบอยู่ในระหว่างการตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงทะเบียนกับหน่วยงานของเจ้าของข้อมูลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการฯ ตามที่คณะกรรมการ นโยบาย และคณะอนุกรรมการกำกับฯ กำหนด
ขั้นตอนที่ 4 คือ ท่านไม่ได้รับสิทธิ
ระบบทำการประมวลแจ้งข้อมูลผู้สมัคร ว่าข้อใดที่ไม่ตรงกับเงื่อนไขประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยสามารถขอทบทวนสิทธิกับหน่วยงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ก่อนกำหนดการบนแอปฯ ทางรัฐอีกครั้ง ตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 5 คือ ท่านได้รับสิทธิตามโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง คาดการณ์ว่าการแจกเงินดิจิทัลให้ประชาชนเฟสที่ 2 อาจไม่ทันภายในปี 2567 เนื่องจากติดปัญหาเรื่องระบบ ส่วนคำถามที่หลายคนสงสัยว่าจะได้รับเงินในช่วงไตรมาสแรกของปี 2568 หรือไม่นั้น เจ้าตัวมองว่าไม่อยากให้เวลามาเป็นตัวเร่งรัดการดำเนินงาน อย่างไรก็ตามจะเร่งหาข้อสรุปตามความต้องการของประชาชน
ทั้งนี้ ที่ประชุมจะสรุปเงื่อนไขการแจกเงินอีกครั้งว่าจะออกมาในรูปแบบใด รวมทั้งพิจารณาเรื่องจำนวนเงินว่าจะแจกเงิน 10,000 บาทในครั้งเดียว หรือแจกเงิน 5,000 บาท 2 รอบ รวมทั้งสิ่งที่หลายคนอยากทราบว่าจะได้รับเงินหมื่นในรูปแบบเงินดิจิทัล หรือเงินสด โดยต้องสรุปจากที่ประชุมอีกครั้ง แต่ยืนยันว่าจะเดินหน้าแจกเงินดิจิทัลให้ถึงมือประชาชนอย่างแน่นอน คนไม่มีสมาร์ทโฟน ลงทะเบียนช่วงไหน
สำหรับผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ไม่มีสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่ใช่ผู้พิการที่ยังไม่เคยลงทะเบียนรับเงินหมื่น คาดว่าจะสามารถลงทะเบียนเพิ่มเติมในเดือนพฤศจิกายนนี้ ผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ใช้เอกสารลงทะเบียนเพียงอย่างเดียว คือ บัตรประชาชน อย่างไรก็ตามต้องติดตามประกาศอย่างเป็นทางการจากมติที่ประชุมอีกครั้ง

เปิด TOP 10 อสังหาฯ ไทย มีกำไรสูงสุด
- อันดับ 1 : แสนสิริ 3,110 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น)
- อันดับ 2 : เอพี 3,022 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 3 : ศุภาลัย 2,824 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 4 : แลนด์แอนด์เฮ้าส์ 2,806 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 5 : ออริจิ้น 1,915 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 6 : พฤกษา 1,730 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น)
- อันดับ 7 : คิวเฮ้าส์ 1,261 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น)
- อันดับ 8 : เอสซี แอสเสท 1,134 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น)
- อันดับ 9 : เฟรเซอร์ส 714 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 10 : แอสเซทไวส์ 531 ล้านบาท (ลดลง)

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องจับตาดู คือ จำนวนสต๊อกที่อยู่อาศัยคงเหลือ และหน่วยที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกเป็นจำนวนมาก โดยนับรวมจากทั้ง 38 บริษัท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 อยู่ที่ 638,860 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.96% จาก 626,535.06 ล้านบาท จากสิ้นไตรมาสแรกที่ผ่านมา สต๊อกมากสุด นำโดย บมจ.แสนสิริ, ศุภาลัย, เอพี, แลนด์แอนด์เฮ้าส์, เอสซีฯ และพฤกษา เป็นต้น